วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ประโยชน์ของแครนเบอร์รี่


    แครนเบอรี่
  1. แครนเบอร์รี่เป็นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวอมหวาน สามารถนำมาบริโภคได้ทั้งในรูปของผลสด ผลตากแห้ง น้ำคั้น หรือจะนำไปทำเป็นเครื่องดื่มประเภทสมูทตี้ผลไม้ก็ได้ ด้วยการนำส้มคั้นลูกขนาดกลาง 1 ลูก เกรปฟรุต 1/2 ลูกคั้นเอาแต่น้ำใส่ลงในเครื่องปั่น แล้วเติมผลแครนเบอร์รี่ 2 กำมือ และกล้วยอีก 1 ผลลงไป ปั่นจนเข้ากัน แล้วนำมาดื่ม จะช่วยทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่าได้
  2. แครนเบอร์รี่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ มีวิตามินซีสูง และยังประกอบไปด้วยสารพฤกษเคมีที่ออกฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น Catechins, Quinic acid, Hippuric acid, Proanthocyanidins, Triterpenoids, และ Tannin จึงมีประโยชน์ต่อสุขภาพโดยรวม
  3. เนื่องจากแครนเบอร์รี่มีวิตามินซีสูง จึงช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย และช่วยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บที่มากับอากาศหนาวได้ดี[2]
  4. ช่วยป้องกันมะเร็งและต้านการก่อกลายพันธุ์ของเซลล์ในร่างกาย[2] มีรายงานทางการแพทย์มากมายเกี่ยวกับการบริโภคแครนเบอร์รี่ว่าสามารถช่วยลดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ มะเร็งรังไข่ มะเร็งต่อมลูกหมากและอื่นๆ ได้อีกมากมาย[4] โดยสารประกอบฟลาโวนอยด์ (Proanthocyanidins) จะเป็นตัวเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็ง ซึ่งจากการศึกษาพบว่าสาร Proanthocyanidins สามารถยับยั้งกลไกการเติบโตของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากด้วยหลายกลไก และพบว่าเป็นตัวเลือดที่ดีที่จะนำไปพัฒนาเป็นยาต้านมะเร็งต่อไป[14] และยังมีผลในการทำลายเซลล์มะเร็งรังไข่ได้ โดยสาร Proanthocyanidins จะเหนี่ยวนำให้เซลล์มะเร็งตายลง หรือเมื่อร่วมกับยารักษามะเร็งรังไข่ ก็จะไปช่วยเสริมฤทธิ์ยาในการลดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง[15] การรับประทานแครนเบอร์รี่สามารถช่วยลดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมในสัตว์ทดลองได้[3] Proanthocyanidins ที่พบได้มากในผลแครนเบอร์รี่สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของยีนมะเร็งและนำไปสู่การตายของเซลล์มะเร็งปอด[13]
  5. สาร Proanthocyanidins ในผลแครนเบอร์รี่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด[2] แครนเบอร์รี่ประกอบไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระนกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Anthocyanin, Flavonoids, Proanthocyanidins) โดยที่ Flavonoids จะไปยับบั้งปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของไขมันเลว (LDL) ทำให้ป้องกันเกิด Oxidized LDL ซึ่งเป็นสาเหตุของหลอดเลือดตีบและอุดตันได้[8]

อันตรายจากอาหารทะเล

อาหารทะเล เป็นเมนูที่ชื่นชอบของใครหลายๆคน เพราะทั้งกุ้ง ปู หอย ปลาหมึก สามารถนำไปเป็นวัตถุดิบประกอบอาหารได้หลายเมนู เช่น นึ่ง ย่าง หรือเผาทว่าอย่าทานกันเพลินจนเกินไปนัก เพราะอาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆได้ เพราะอาหารทะเลนั้น ขึ้นชื่อลือชาว่ามี คอเลสเทอรอลสูงโดยเฉพาะปลาหมึก คอเลสเทอรอล เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายเราสังเคราะห์ขึ้นเองได้คอเลสเทอรอล มีทั้งชนิดดี (HDLs) และชนิดไม่ดี (LDLs) ชนิดดี (HDLs) เป็นชนิดที่ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ เช่น สร้างผนังเซลล์ สร้างเยื่อสมอง สังเคราะห์น้ำดี สังเคราะห์วิตามิน และเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการผลิตฮอร์โมนเพศส่วนชนิดไม่ดี (LDLs) หากร่างกายได้รับในปริมาณที่มากกว่าชนิดดี

ก็อาจให้โทษต่อร่างกาย คือ เมื่อร่างกายได้รับคอเลสเทอรอลชนิดไม่ดีปริมาณมากๆ มันจะสะสมจนทำให้เกิดตะกรันไขมันในหลอดเลือดส่งผลให้หลอดเลือดตีบลง หัวใจจึงต้องทำงานหนักขึ้น ตะกรันไขมันจะเข้าไปขวางกั้นระบบไหลเวียนเลือด อาจทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจวาย หรือหลอดเลือดในสมองตีบได้ปกติเราควรกินอาหารที่มีคอเลสเทอรอลรวมแล้วไม่เกิน 300 มิลลิกรัมต่อวัน และระดับคอเลสเทอรอลในเลือดก็ไม่ควรสูงเกิน 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรผลวิเคราะห์พบว่าในปลาหมึกย่างหนัก 100 กรัมหรือ 1 ขีด มีปริมาณคอเลสเทอรอลอยู่ในช่วง 170.58–314.23 มิลลิกรัมหากต้องการให้ร่างกายแข็งแรงก็ต้องลดการทานอาหารที่มีคอเลสเทอรอลสูง
ที่มาไทยรัฐและสถาบันอาหารโครงการอาหารปลอดภัย 21 พ.ย. 2557