วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ประโยชน์ของแครนเบอร์รี่


    แครนเบอรี่
  1. แครนเบอร์รี่เป็นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวอมหวาน สามารถนำมาบริโภคได้ทั้งในรูปของผลสด ผลตากแห้ง น้ำคั้น หรือจะนำไปทำเป็นเครื่องดื่มประเภทสมูทตี้ผลไม้ก็ได้ ด้วยการนำส้มคั้นลูกขนาดกลาง 1 ลูก เกรปฟรุต 1/2 ลูกคั้นเอาแต่น้ำใส่ลงในเครื่องปั่น แล้วเติมผลแครนเบอร์รี่ 2 กำมือ และกล้วยอีก 1 ผลลงไป ปั่นจนเข้ากัน แล้วนำมาดื่ม จะช่วยทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่าได้
  2. แครนเบอร์รี่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ มีวิตามินซีสูง และยังประกอบไปด้วยสารพฤกษเคมีที่ออกฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น Catechins, Quinic acid, Hippuric acid, Proanthocyanidins, Triterpenoids, และ Tannin จึงมีประโยชน์ต่อสุขภาพโดยรวม
  3. เนื่องจากแครนเบอร์รี่มีวิตามินซีสูง จึงช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย และช่วยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บที่มากับอากาศหนาวได้ดี[2]
  4. ช่วยป้องกันมะเร็งและต้านการก่อกลายพันธุ์ของเซลล์ในร่างกาย[2] มีรายงานทางการแพทย์มากมายเกี่ยวกับการบริโภคแครนเบอร์รี่ว่าสามารถช่วยลดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ มะเร็งรังไข่ มะเร็งต่อมลูกหมากและอื่นๆ ได้อีกมากมาย[4] โดยสารประกอบฟลาโวนอยด์ (Proanthocyanidins) จะเป็นตัวเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็ง ซึ่งจากการศึกษาพบว่าสาร Proanthocyanidins สามารถยับยั้งกลไกการเติบโตของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากด้วยหลายกลไก และพบว่าเป็นตัวเลือดที่ดีที่จะนำไปพัฒนาเป็นยาต้านมะเร็งต่อไป[14] และยังมีผลในการทำลายเซลล์มะเร็งรังไข่ได้ โดยสาร Proanthocyanidins จะเหนี่ยวนำให้เซลล์มะเร็งตายลง หรือเมื่อร่วมกับยารักษามะเร็งรังไข่ ก็จะไปช่วยเสริมฤทธิ์ยาในการลดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง[15] การรับประทานแครนเบอร์รี่สามารถช่วยลดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมในสัตว์ทดลองได้[3] Proanthocyanidins ที่พบได้มากในผลแครนเบอร์รี่สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของยีนมะเร็งและนำไปสู่การตายของเซลล์มะเร็งปอด[13]
  5. สาร Proanthocyanidins ในผลแครนเบอร์รี่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด[2] แครนเบอร์รี่ประกอบไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระนกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Anthocyanin, Flavonoids, Proanthocyanidins) โดยที่ Flavonoids จะไปยับบั้งปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของไขมันเลว (LDL) ทำให้ป้องกันเกิด Oxidized LDL ซึ่งเป็นสาเหตุของหลอดเลือดตีบและอุดตันได้[8]

อันตรายจากอาหารทะเล

อาหารทะเล เป็นเมนูที่ชื่นชอบของใครหลายๆคน เพราะทั้งกุ้ง ปู หอย ปลาหมึก สามารถนำไปเป็นวัตถุดิบประกอบอาหารได้หลายเมนู เช่น นึ่ง ย่าง หรือเผาทว่าอย่าทานกันเพลินจนเกินไปนัก เพราะอาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆได้ เพราะอาหารทะเลนั้น ขึ้นชื่อลือชาว่ามี คอเลสเทอรอลสูงโดยเฉพาะปลาหมึก คอเลสเทอรอล เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายเราสังเคราะห์ขึ้นเองได้คอเลสเทอรอล มีทั้งชนิดดี (HDLs) และชนิดไม่ดี (LDLs) ชนิดดี (HDLs) เป็นชนิดที่ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ เช่น สร้างผนังเซลล์ สร้างเยื่อสมอง สังเคราะห์น้ำดี สังเคราะห์วิตามิน และเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการผลิตฮอร์โมนเพศส่วนชนิดไม่ดี (LDLs) หากร่างกายได้รับในปริมาณที่มากกว่าชนิดดี

ก็อาจให้โทษต่อร่างกาย คือ เมื่อร่างกายได้รับคอเลสเทอรอลชนิดไม่ดีปริมาณมากๆ มันจะสะสมจนทำให้เกิดตะกรันไขมันในหลอดเลือดส่งผลให้หลอดเลือดตีบลง หัวใจจึงต้องทำงานหนักขึ้น ตะกรันไขมันจะเข้าไปขวางกั้นระบบไหลเวียนเลือด อาจทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจวาย หรือหลอดเลือดในสมองตีบได้ปกติเราควรกินอาหารที่มีคอเลสเทอรอลรวมแล้วไม่เกิน 300 มิลลิกรัมต่อวัน และระดับคอเลสเทอรอลในเลือดก็ไม่ควรสูงเกิน 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรผลวิเคราะห์พบว่าในปลาหมึกย่างหนัก 100 กรัมหรือ 1 ขีด มีปริมาณคอเลสเทอรอลอยู่ในช่วง 170.58–314.23 มิลลิกรัมหากต้องการให้ร่างกายแข็งแรงก็ต้องลดการทานอาหารที่มีคอเลสเทอรอลสูง
ที่มาไทยรัฐและสถาบันอาหารโครงการอาหารปลอดภัย 21 พ.ย. 2557

วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

Provence ( โพรวองซ์ )

โพรวองซ์ (Provence) ดินแดนทางตอนใต้ของฝรั่งเศส ที่อยู่ติดกับอิตาลีนั่นเอง และหากพิจารณากันดีๆ แล้ว ภาพอันคุ้นตาที่ว่าสามารถบอกจุดเด่นของโพรวองซ์ได้อย่างหนึ่ง นั่นคือ การเป็นดินแดนแห่งความหลากหลาย
เที่ยวโพรวองซ์
เริ่มจากสภาพภูมิประเทศที่สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วนตามชื่อ เขตการปกครองอย่างเป็นทางการที่ว่า โพรวองซ์-แอลป์-โกต ดาซูร์ (Provence-Alps-Côte d’Azur) นั่นคือ เขตโพรวองซ์ หรือกลุ่มเมืองบนเนินเขา ที่เชื่อมระหว่างเทือกเขาแอลป์เข้ากับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเข้าไว้ด้วยกัน ชาวเมืองเหล่านี้มีอาชีพหลัก คือการปลูกทุ่งดอกลาเวนเดอร์ ปะปนไปกับการทำไร่องุ่นเพื่อผลิตไวน์ เราจึงเห็นบ้านหลังเล็กๆ สีสดใสแทรกแซมอยู่กับไร่องุ่นที่กว้างสุดลูกหูลูกตา ซึ่งทิวทัศน์อันสวยงามที่ว่า ได้เคยดึงดูดศิลปินที่มีชื่อเสียงอย่างเซซานน์ (Cézanne) และแวน โก๊ะห์ (Van Gogh) ให้มาปักหลักใช้ชีวิตอยู่ที่นี่มาแล้ว ส่วนที่สองคือส่วนเทือกเขาแอลป์ ที่โดดเด่นเรื่องกิจกรรมกลางแจ้งต่างๆ นอกจากสกีรีสอร์ตกว่า 300 แห่ง แล้วเขตนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆ อย่างการขี่ม้าชมเขา ปีนเขา ขี่จักรยาน รวมไปถึงการเล่นเครื่องร่อน เขตสุดท้ายคือโกต-ดาซูร์ กลุ่มเมืองริมชายฝั่งทะเล (โกต ดาซูร์ ภาษาฝรั่งเศสแปลว่าชายฝั่งสีน้ำเงิน) หรือที่รู้จักกันในนาม “เฟรนช์ ริเวียร่า” (French Riviera) ที่มีเมืองชื่อคุ้นหูอย่างนีส (Nice) คานน์ (Cannes) และกราสส์ (Grasse) 

Roussillon
Roussillon-in-Autumn
provence-02

โพรวองซ์ ดินแดนแห่งลาเวนเดอร์แคว้นโพรวองซ์ (Provence) เป็นดินแดนที่งดงามที่สุดในฝันฝรั่งเศสตอนใต้ เพราะยังมีธรรมชาติที่สวยงาม อากาศบริสุทธิ์ ยิ่งในช่วงเดือนกรกฎาคมลาเวนเดอร์ผลิดอกสีม่วงบานสะพรั่งอยู่เต็มทุ่ง นั่นคือเสน่ห์หาที่ได้เหมือนไม่ เป็นเมืองที่ขึ้นชื่อเรื่องไวน์ดี อาหารอร่อย มีอารยธรรมเก่าแก่ยุคโรมัน เนื่องจากเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่แผ่อำนาจไปทั่วทั้งยุโรป ดังนั้นโพรวองซ์จึงเป็นสวรรค์ของนักท่องเที่ยว วิมานของนักชิม และนักช้อป แถมเมืองต่างๆ ยังเชื่อมโยงถึงกันได้ไม่ไกลเกินเอื้อม มีทั้งรถไฟและรถบัส
โพรวองซ์เป็นจุดกำเนิดของศิลปะยุคโพสอิมเพรสชั่นนิสม์ มีศิลปินชื่อดังอย่างแวนโก๊ะห์ เซซานน์ หรือ ปีกัสโซ ต่างก็เคยมาปักหลักสร้างสรรค์ผลงานกันที่นี่ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ วาดภาพวิวทิวทัศน์อันแสนงดงาม ณ ดินแดนแห่งนี้ เช่นภาพดอกทานตะวัน (Sunflowers) ภาพห้องนอนที่อาร์ล (Bedroom in Arles) ภาพร้านกาแฟตอนกลางคืน (Night Cafe) ทั้งหมดนี้เป็นผลงานของแวนโก๊ะห์
Provence ยังมีเมืองเล็กๆ มีหมู่บ้านตามชนบท ในขุนเขา หุบผา โตรกธารที่สวยงาม หากต้องการมาท่องเที่ยวชมวิถีชีวิตชนบทของฝรั่งเศส ที่โพรวองซ์ไม่ทำให้ผิดหวัง ไปเยือนโพรวองซ์ครั้งนี้ยังได้ไปเยี่ยมชมขั้นตอนการปลูกที่ Le Musee de la Lavande เลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากลาเวนเดอร์แท้ ไม่ว่าจะเป็นสบู่ ครีมอาบน้ำ น้ำมันหอมระเหย ลิปสติก เทียนหอมกลิ่นลาเวนเดอร์ ชมขั้นตอนการปลูก ไปจนถึงเก็บเกี่ยวด้วยรถ จนนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย จนทราบว่าลาเวนเดอร์แท้นั้น มีลักษณะดอกเดี่ยว ส่วนอีกสายพันธุ์หนึ่ง ชื่อว่า ลาเวนดี้ จะมีลักษณะช่อหนึ่ง แตกออกเป็น 3 ก้าน มีกลิ่นฉุนกว่าลาเวนเดอร์ ซึ่งลาเวนดี้นั้นจะขึ้นง่าย โตเร็วกว่า ชาวบ้านจึงนิยมนำไปปลูกประดับบ้าน
Lavender-and-Sunflowerprov

วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557

Anne Frank

Anne Frank.jpgอันเนอลีส มารี "อันเนอ" ฟรังค์ (Annelies Marie "Anne" Frank; 12 มิถุนายน พ.ศ. 2472- ประมาณมีนาคม 2488) หรือมักรู้จักในภาษาไทยว่า แอนน์ แฟรงค์เป็นเด็กหญิงชาวยิว เกิดที่เมืองแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี เธอมีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะผู้เขียนบันทึกประจำวันซึ่งต่อมาได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือ บรรยายเหตุการณ์ขณะหลบซ่อนตัวจากการล่าชาวยิวในประเทศเนเธอร์แลนด์ ระหว่างที่ถูกเยอรมนีเข้าครอบครองในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
ครอบครัวของเธอได้ย้ายไปยังประเทศเนเธอร์แลนด์ในปี พ.ศ. 2476 หลังจากพรรคนาซีเริ่มมีอำนาจ ต่อมาเมื่อกองทัพนาซีเข้ายึดครองเนเธอร์แลนด์ พร้อมกับออกมาตรการควบคุมชาวยิวจำนวนมาก เธอและครอบครัวกับผู้อื่นอีก 4 คนจึงต้องไปหลบซ่อนตัวอยู่ในอาคารสำนักงานในเมืองอัมสเตอร์ดัมของออทโท ฟรังค์ผู้บิดาในห้องลับบนหลังคาตั้งแต่ พ.ศ. 2485 จนถูกหักหลังและถูกนาซีจับเข้าค่ายกักกันในปี พ.ศ. 2487 อันเนอ ฟรังค์เสียชีวิตด้วยโรคไข้รากสาดใหญ่ในเวลาใกล้เคียงกับพี่สาวในค่ายกักกันแบร์เกิน-เบลเซินประมาณเดือนกุมภาพันธ์ หรือมีนาคม พ.ศ. 2488 สมาชิกตระกูลฟรังค์มีผู้รอดชีวิตเพียงคนเดียว คือออทโทผู้เป็นพ่อ เขากลับมาอัมสเตอร์ดัมหลังสงครามสิ้นสุดและได้พบสมุดบันทึกของเธอที่เพื่อนเก็บรักษาไว้ให้ จึงพยายามนำออกตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2490 ใช้ชื่อหนังสือว่า "Het Achterhuis" หลังจากนั้นมีการแปลจากต้นฉบับภาษาดัตช์ออกไปเป็นภาษาต่าง ๆ มากมาย ฉบับภาษาอังกฤษใช้ชื่อว่า"The Diary of a Young Girl" ส่วนฉบับแปลภาษาไทยใช้ชื่อว่า "บันทึกลับของแอนน์ แฟรงค์"
อันเนอ ฟรังค์ได้รับสมุดบันทึกเป็นของขวัญวันเกิดครบ 13 ขวบ เธอเริ่มเขียนบันทึกตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2485 และสิ้นสุดในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 บันทึกได้รับการแปลจากภาษาดัตช์ออกเป็นภาษาต่าง ๆ มากมายและกลายเป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่มีผู้อ่านมากที่สุดในโลก นอกจากภาพยนตร์แล้วยังมีการนำเรื่องราวไปสร้างเป็นภาพยนตร์ชุดโทรทัศน์ ละครเวทีและแม้แต่อุปรากร งานบันทึกของอันเนอ ฟรังค์ถือว่าเป็นการเขียนงานอย่างผู้ใหญ่เต็มตัวและเต็มไปด้วยความช่างคิด แสดงให้เห็นชีวิตประจำวันที่แท้จริงภายใต้อำนาจพวกนาซี เป็นการพรรณนาถึงเหยื่อของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่โด่งดังที่สุด อันเนอ ฟรังค์ ได้รับเลือกจากนิตยสารไทมส์ ให้เป็น 1 ใน 100 บุคคลสำคัญแห่งศตวรรษที่ 20 และกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้เพื่อเกียรติภูมิของมนุษย์


ปัญหาปี ค.ศ. 2000

ปัญหาปี ค.ศ. 2000 บางครั้งเรียกว่า ปัญหาวายทูเค (Y2K problem) เป็นปัญหาที่เกิดกับระบบเอกสารและการบันทึกข้อมูล ทั้งในแบบดิจิตอล (เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์) และระบบอนาล็อก สืบเนื่องมาจากการบันทึกปีคริสต์ศักราชจำนวนสี่หลัก ย่อเหลือเพียงสองหลักท้าย โดยละสองหลักแรก คือ "19" และ "20" ไว้ในฐานที่เข้าใจ
ปัญหาจะเกิดขึ้นเมื่ออุปกรณ์ต่างๆ ใช้งานจนถึงหลังเที่ยงคืนของวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1999 และเข้าสู่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2000 แต่ระบบกลับเข้าใจว่าเป็น ค.ศ. 1900 ทำให้การทำงานของระบบผิดเพี้ยน
ปัญหานี้ถูกหยิบยกมากล่าวถึงเป็นครั้งแรกในหนังสือชื่อ Computers in Crisis เขียนโดย Jerome และ Marilyn Murray ในปี ค.ศ. 1984 และในเครือข่ายยูสเนต ในปี ค.ศ. 1985 [1] สร้างความตื่นตัวในแวดวงธุรกิจ การธนาคาร การแพทย์ และการทหาร ว่าอาจทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานผิดพลาด อาจทำให้ระบบสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า โทรศัพท์ ระบบอาณัติสัญญาณ ถึงขั้นหยุดการทำงาน
ความหมายของคำว่า Y2K
Y2K คือคำย่อของ Year 2000 ซึ่งหมายถึงปี ค.ศ. 2000 โดย Y ย่อมาจากคำว่า Year, K เป็นหน่วยในการวัดค่าต่างๆ ในระบบเมตริก มีค่าเท่ากับ 1000 2K จึงมีค่า 2x1000 เท่ากับ 2000
         สาเหตุ
  • การเก็บข้อมูลปี ค.ศ. เฉพาะแค่ 2 หลักท้ายแทนที่จะเก็บเต็ม 4 หลักโดยถือว่า 2 หลักหน้าคือ 19 เสมอ เช่น ค.ศ. 1998 จะเก็บแค่เพียง 98 ดังนั้นข้อมูลในระบบจึงมีค่าอยู่ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1900-1999 เท่านั้น เมื่อถึงปี ค.ศ. 2000 คอมพิวเตอร์ยังคงถือว่า 2 หลักหน้าคือ 19 อยู่เหมือนเดิม เมื่อป้อนปีเป็น 00 ซึ่งหมายถึงปี ค.ศ. 2000 คอมพิวเตอร์ยังคงตีความว่าเป็นปี ค.ศ. 1900 เหมือนเดิม คังนั้นการคำนวณเกี่ยวกับระยะเวลา เช่น การคำนวณอายุ การคำนวณระยะเวลา การชำระหนี้และการเรียงลำดับข้อมูลจึงผิดพลาดหมด
  • การคำนวณปีอธิกสุรทิน ไม่ถูกต้องทำให้เดือนกุมภาพันธ์ปี ค.ศ. 2000 มีเพียง 28 วันเท่านั้น ทำให้การคำนวณหาวันที่ในปี (Day of Year) หลังเดือนกุมภาพันธ์ผิดพลาดหมด กฎในการคำนวณปีอธิกสุรทินที่ถูกต้องคือ
1. ปีที่หารด้วย 4 ลงตัวจะเป็นปีอธิกสุรทิน
2. ปีที่หารด้วย 100 ลงตัวจะเป็นและไม่เป็นปีอธิกสุรทิน
3. ปีที่หารด้วย 400 ลงตัวจะเป็นปีอธิกสุรทิน
หากสลับกฎข้อ 2 และกฎข้อ 3 จะทำให้การคำนวณปีอธิกสุรทินของ ปี ค.ศ. 2000 ผิดพลาด

  • ช่วงก่อนวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2000 จะเกิดปัญหา Y2K แต่มีอีกวันที่มีปัญหาคล้ายกันวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1999 เพราะวันนี้อาจจะมีการเขียนในรูปแบบตัวเลข 9/9/99 ก็จะได้ขัดแย้งกับค่าวันที่ 9999 ที่ใช้บ่อยในการระบุวันที่ทราบ มันจึงเป็นไปได้ว่าโปรแกรมฐานข้อมูลอาจจะทำหน้าที่ในระเบียนที่มีวันที่ไม่รู้จักในวันนั้น ค่อนข้างคล้ายกับนี้คือรหัสสิ้นสุดของแฟ้ม 9999 ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษาที่มีอายุมากกว่า ในขณะที่ความกลัวเกิดขึ้นที่บางโปรแกรมไม่คาดคิดอาจยุติในวันที่ข้อผิดพลาดก็มีแนวโน้มที่จะทำให้ระบบประมวลผลของคอมพิวเตอร์
  • การแทนวันและเวลาโดยการนับจากเวลาอ้างอิงในอดีต เช่น ระบบหาตำแหน่งด้วยดาวเทียม (GPS) จะใช้ตัวเลขขนาด 10 บิต (Bits) แทนค่าเวลาเป็นสัปดาห์ นับตั้งแต่เดือนมกราคม 1980 เป็นต้นมา ซึ่งจะแทนค่าได้ 1024 สัปดาห์ และจะ Roll Over ในวันที่ 21 สิงหาคม 1999 ระบบ Unix เก็บวันและเวลาโดยการแทนค่าวินาทีนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 1970 ด้วยตัวเลขขนาด 32 บิต ซึ่งจะ Roll Over ในปี 2038 เป็นต้น

วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Les Fêtes des français


Le 31 décembre, c'est la St. Sylvestre et le 1er janvier, c'est le jour de l'An. On se réunit en famille ou entre amis autour d'un repas de fête qui varie selon les régions. À minuit exactement, on s'embrasse en s'adressant des voeux, « sous le gui», plante que l'on trouve sur certains arbres, que l'on accroche au-dessus des portes ou à l'intérieur des maisons pour le nouvel an et qui porte bonheur.
Le 6 janvier, c'est l'Épiphanie ou fête des rois. Chez le pâtissier, on achète des galettes qui contiennent un petit objet appelé fève. La plus jeune de la famille, les yeux bandés, donne les parts de galettes : « Pour tante Jeanne, pour papa, pour monsieur Despoyes...» Chacun mange en essayant de ne pas avaler la fève. Celui qui la trouve est couronné roi (ou reine), choisit sa reine (ou son roi) et la famille ou les amis lèvent leur verre en disant : « Le roi boit, la reine boit.»
Le 2 février, c'est la chandeleur, fête religieuse et aussi fête gourmande. Ce jour-là, dans toutes les familles on fait des crêpes. Fines, fines et dorées comme des soleils, elles volent, suivies par les regards admiratifs des enfants. Si elles pouvaient tomber directement dans la bouche ! Faites sauter des crêpes avec une pièce de monnaie dans la main, et vous serez riche toute l'année...
Le 8 février, c'est le Mardi Gras, le dernier jour du carnaval précédant le carême (période de jeûne pour les catholiques pratiquants). Les enfants, et parfos les adultes, se déguisent. On mange des petits gâteaux qui selons les régions, s'appellent merveilles, oreillettes ou bugnes.
Le 14 février, c'est la St. Valentin, fête des amoureux depuis le XVe siècle. Aujourd'hui, on célèbre cette fête en envoyant une carte, ou en offrant un cadeau à celle ou celui que l'on aime.
Un dimanche en mars ou en avril, c'est Pâques, la plus grande fête chrétienne qui commémore la résurrection du Christ.
Les enfants cherchent, dans les jardins ou dans les appartements, des oeufs, des poules, des lapins, des poissons en chocolat que les cloches, qui viennent de Rome, déposent en survolant le ciel de France.
Le 1er avril, c'est le jour des farces. Tout est permis ou presque ! Les enfants et même les adultes inventent des farces.
- Papa, ton directeur a téléphoné. Il voudrait que tu l'appelles.
- Allô, Monsieur le directeur...
- Poisson d'avril ! poisson d'avril !
- Tu as vu, Durand, on va augmenter les impôts de 20 %.
- De 20 % ! Ce n'est pas possible.
- Poisson d'avril ! poisson d'avril !
- Annie, tu as une grosse tache dans le dos de ta robe.
- Oh ! mon Dieu, je ne peux pas aller danser comme ça; je rentre à la maison.
- Poisson d'avril ! poisson d'avril !
Le 1er mai, c'est la fête du travail et du muguet. Les rues de Paris et même le métro sentent bon, tellement il y a de petits marchands de muguet. On en achète pour soi, on en offre, on en met un brin sur sa veste, sur sa blouse. C'est le printemps, il fait beau, on se promène, on va pique-niquer à la campagne, pêcher, jouer aux boules. Demain, déjà, il faudra reprendre le chemin de l'usine, du bureau, du lycée...
Le 21 juin, c'est le jour le plus long de l'année et c'est la fête de la musique. À l'occasion de cette fête, il y a des manifestations spontanées ou organisées autour de la danse et de la musique, dans les villes et les villages.

Le 14 juillet, c'est la fête nationale. La veille, dans toutes les villes de France, on tire de beaux feux d'artifice et on danse dans les rues, même à Paris. Le lendemain matin, on applaudit le défilé militaire. Les grandes vacances commencent.
La grande fête des vacances dure du 1er au 31 août. Malgré les efforts du gouvernement, presque tous les Français prennent leurs vacances en même temps. Beaucoup d'usines ferment, une grande quantité de magasins en font autant.
Madame et les enfants sont à la mer. Monsieur est retenu en ville par son travail. Chez lui, tout seul, il découvre les plaisirs de la cuisine, du ménage, du lavage, du repassage. il fait des kilomètres pour trouver une boulangerie ou une blanchisserie ouverte. Mais ô merveille, il peut garer sa voiture partout, et il apprend les langues étrangères, car sauf les autres malheureux, ses frères, il n'y a plus en ville que des touristes étrangers qui s'étonnent de trouver places et avenues désertes.
Pendant ce temps, sur les plages, on se disputent le moindre centimètre carré...
Le 1er novembre, c'est la Toussaint, le jour des morts. Dans les cimetières, les tombes sont fleuries de chrysthèmes. Malgré la tristesse générale, les écoliers sont heureux d'avoir les premiers jours de l'année.
Le 25 novembre, c'est la Saint-Catherine, une fête bien parisienne. Les jeunes filles qui ont vingt-cinq ans et ne sont pas encore mariées « coiffent la Sainte-Catherine ». Ces catherinettes mettent des fleurs devant la statue de leur sainte qui se trouve dans la rue du même nom. Pour cette journée, elles ont fabriqué de merveilleux bonnets jaune et vert, plus originaux les uns que les autres. Dans les grandes maisons de couture surtout, on danse, on boit du champagne. La catherinette est la reine de la journée.
Le 25 décembre, « tant l'on crie Noël qu'à la fin il vient ». C'est la fête des fêtes, la lumière de l'hiver, le plaisir de tous. Les étoiles, la neige, les sapins, les cadeaux, les cloches composent le tableau. Toute la famille se réunit devant le réveillon. On mange traditionnellement de la dinde et un gâteau appelé bûche de Noël. Les enfants nettoient les cheminées, cherchent leurs plus grandes chaussures, Le Père Noël prend la route...
 จากหนังสือ LA FRANCE EN DIRECT เล่ม 2 : Janine CAPELLE & Guy CAPELLE [สำนักพิมพ์ HACHETTE] และ LA FRANCE AU QUOTIDIEN : Roselyne ROESCH & Rosalba ROLL-HAROLD [สำนักพิมพ์ PUG]
 คำศัพท์ [lexique] :
- varier (v.) = แตกต่าง, หลากหลาย
- selon (prép) = ตาม, สอดคล้องกับ
- (s') adresser = พูด, กล่าว, แสดง, ส่ง
- voeu(x) (n.m.) = คำอวยพร, ความปรารถนา
- gui (n.m.) = เถาวัลย์ไม้ชนิดหนึ่ง
- accrocher (v.) = แขวนไว้, เกี่ยวไว้กับ
- porter bonheur (v.) = นำความสุขหรือโชคมาให้
- galette (n.f.) = ขนมชนิดหนึ่ง นิยมรับประทานกันในเทศกาล fête des rois
- contenir (v.) = ประกอบไปด้วย, บรรจุ
- fève (n.f.) = เมล็ดถั่ว
- bander (v.) = ปิด, คาดด้วยแถบผ้า...
- avaler (v.) = กลืน
- couronner (v.) = สวมมงกุฎ
- fin / fine (adj.) = บาง, ละเอียด, ประณีต
- doré (adj.) = ที่เป็นสีทอง
- regard (n.m.) = สายตา, การมอง
- admiratif / admirative (adj.) = ที่ชื่นชม / admirer (v.) = ชื่นชม, ชื่นชอบ
- sauter (v.) = กระโดด, โยนให้ลอยขึ้นไป
- carnaval (n.m) = งานคาร์นาวัล
- précéder (v.) = นำ, นำหน้ามา
- carême (n.m.) = การถือศิลอด
- jeûne n.m) = การงดอาหาร
- pratiquant (adj. et n.) = บุคคลที่เคร่ง, ที่ฝึกปฎิบัติ
- se déguiser (v.) = แปลงโฉม, แปลงร่าง, อำพรางกาย
- amoureux (adj. et n.) = ที่มีความรัก, คนที่มีความรัก
- comémorer (v.) = ระลึกถีง
- résurrection (n.f.) = การฟื้นคืนชีพ
- déposer (v.) = วางไว้, ปล่อยไว้
- survoler (v.) = บินเหนือ
- farce (n.f.) = เรื่องตลก, เรื่องหยอกล้อ [= blague]
- impôt (n.m.) = ภาษีรายได้
- tache (n.f.) = รอยเปื้อน
- Poisson d'avril ! poisson d'avril ! [ใช้พูดเมื่อเราอำหรือหรอกใครได้เป็นผลสำเร็จ = April Fool !]
- muguet (n.m.) = ดอกไม้ชนิดหนึ่งมีสีขาวและกลิ่นหอม มีลักษณะเป็นรูปทรงกระดิ่งเล็ก
- tellement (adv.) = มาก, มากเหลือเกิน
- sentir bon (mauvais) = มีกลิ่นหอม (เหม็น)
- brin (n.m.) = กิ่งเล็กๆ
- jouer aux boules = เล่นกีฬาเปตอง (=faire une partie de pétanque)
- reprendre le chemin de ... = กลับ (มาทำงาน, มาโรงเรียน ...)
- manifestation (n.f.) = การแสดงออก
- spontané (adj.) = (ในที่นี้ = การแสดง) สด, ปัจจุบันทันด่วน
- organisé (adj.) = (ในที่นี้ = การแสดง) ที่จัดหรือเตรียมการ
- autour (prép.) = รอบๆ, (ในที่นี้ = เกี่ยวกับ)
- veille (n.f.) = วันก่อนหน้า(วันงานหรือเทศกาล)
- feu(x) d'artifice (n.m) = พลุ, ดอกไม้ไฟ
- lendemain (n.m.) = วันรุ่งขึ้น (วันหลังจากงานหรือเทศกาล)
- applaudir (v.) = ปรบมือ
- défilé (n.m.) = การเดินแถว, การเดินโชว์ / un défilé militaire = การเดินสวนสนามของทหาร / un défilé de mode = การเดินแฟชั่น
- malgré (prép.) = ทั้งๆที่, ถึงแม้ว่า
- effort (n.m.) = ความพยายาม
- être retenu (v. au passif) = ถูกรั้งไว้, ติดธุระ, ไม่ว่าง
- lavage (n.m.) = การซักล้าง / laver (v.) = ซัก, ล้าง
- repassage (n.m.) = การรีดผ้า / repasser le linge (v.) = รีดผ้า
- merveille (n.f.) = ความมหัศจรรย์, สิ่งมหัศจรรย์ / merveilleux / merveilleuse (adj.) = มหัศจรรย์
- (se) garer (v.) = จอดรถ...
- sauf (prép.) = ยกเว้น, นอกจาก
- (s') étonner (v.) = ทำให้ประหลาดใจ, รู้สึกประหลาดใจ
- place (n.f.) = (ในที่นี้)จตุรัส, ที่ว่าง, ที่นั่ง, สถานะ
- désert / déserte (adj.) = ที่ไร้ผู้คน, ที่ว่างเปล่า
- moindre (adj.) = (ขั้นสูงสุดของ petit) เล็ก, น้อยที่สุด
- carré (adj. et n.m.) = (สี่เหลียมจตุรัส) ตาราง (เมตร, กิโลเมตร..)
- mort (adj.) = ที่ตายแล้ว / un mort (n.m.) = คนที่ตาย / la mort (n.f.) = ความตาย
- cimetière (n.m.) = สุสาน, ที่ฝังศพ
- fleurir (n.f.) = ประดับด้วยดอกไม้, ผลิดอก, ออกดอก
- congé (n.m.) = วันหยุด
- coiffer (v.) = ทำผม / coiffe (n.f.) = เครื่องประดับผม / coiffure (n.f.) = ทรงผม / coiffeur / coiffeuse (n.) = ช่างทำผม
- saint(e) (n.) = นักบุญ
- fabriquer (v.) = ผลิต, ทำขึ้น
- bonnet (n.m.) = หมวก
- original (adj.) = แปลก, ประหลาด
- maison de couture (n.f.) = ร้านตัดเย็บเสื้อผ้า
- catherinette (n.f.) = สาวๆที่ชื่อคาทรีน (สาวน้อยคาทรีน)
- tant (adv.) = มาก, มากเหลือเกิน
- lumière (n.f.) = แสง
- sapin (n.m.) = ต้นสน / sapin de Noël = ต้นคริสต์มาส
- cloche (n.f.) = กระดิ่ง, ระฆัง
- composer (v.) = ประกอบขึ้นเป็น, ทำขึ้น
- réveillon (n.f.) = อาหารมื้อพิเศษ ที่รับประทานกันในวันคริสต์มาส และ วันขึ้นปีใหม่
- bûche de Noël (n.f.) = ขนมเค๊กรูปฟืนไม้ ที่รับประทานกัน ในวันคริสต์มาส
- dinde (n.f.) = / dindon (n.m.) = ไก่งวง
- cheminée (n.f.) = (ในที่นี้)เตาผิง, ปล่องไฟ
- prendre la route (v.) = ออกเดินทาง

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

“ชีส” รู้ให้ลึก รู้ให้จริง

ชีสมาจากอะไรกันนะ
    ชีสคือผลิตภัณฑ์นม ชีสเป็นการนำเอาส่วนของโปรตีนไม่ใช่ส่วนของไขมันมาใช้ประโยชน์ ซึ่งความอร่อยของชีสอยู่ที่ความหอม มัน เข้มข้น ความเข้มข้นที่ว่านั้นมาจากการแยกโปรตีนออกจากนม โดยการเติมเอนไซม์เรนนินซึ่งทำให้โปรตีนที่แขวนลอยอยู่ในนมจับตัวกันเป็น ก้อน หรือเรียกว่า “เคิร์ด” และเจ้าเคิร์ดนี้ก็ คือชีสนั่นเอง แต่เป็นชีสสดที่ยังไม่ได้ผ่านการบ่มหรือที่เรียกว่าเฟรชชีส ซึ่งถ้านำไปผ่านการบ่มกับเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา เติมเครื่องเทศ แต่งสี แต่งรส ก็จะทำให้ได้ชีสที่หลากหลายชนิดขึ้น
ประเภทของชีส
    ชีสมีมากมายกว่า 3,000 ชนิด การแบ่งประเภทของชีสมีวิธีแบ่งแตกต่างกันไป เช่น อาจแบ่งตามชนิด ของนม แบ่งตามวิธีการบ่ม ความชื้น ระยะเวลาในการบ่ม หรือแม้แต่ประเทศที่ผลิต แต่ชีสที่มีวางขายทั่วไปในซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไปในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ
  • Very Hard Cheese
    ชีสที่มีเปลือกหนาเนื้อแข็งใช้เวลาในการบ่มนาน (มาก) จนแทบไม่เหลือความชื้นอยู่ในชีสเลย ที่รู้จัก ทั่วไปคือ Parmigiano, Reggiano, Parmesan ฯล
  • Hard Cheese
    ชีสชนิดแข็งที่ยังพอมีความชื้นอยู่บ้างเช่น Cheddar,Gruyre,Gouda,Emmental,Edam ฯลฯ ชีสหมวดนี้ค่อนข้างนิยมในบ้านเราค่ะ
  • Semi-Soft Cheese 
    ชีสเนื้อนุ่ม เช่น Mozzarella,Brie,Camembert, Blue Cheese,Feta ฯลฯ
  • Soft Cheese
    ชีสที่มีความชื้นอยู่สูง เช่น Cottage, Ricotta และ Mascarpone เป็นต้น
    นอกจากชีส 4 ประเภทนี้ยังมีชีสชนิดที่ปรุงแต่งรสให้ เลือกซื้อ อีกมากมาย เช่น Smoked Cheese รสพริกไทย รสแฮม หรือรสปาปริก้า เรียกว่ามีให้เลือกหลากหลายทีเดียวค่ะ
จับคู่ชีสกับอาหารให้อร่อย ถ้ามีคนบอกว่าการจับคู่ไวน์กับอาหารนั้นถือว่าเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ชีสก็เช่นเดียวกัน เพราะการเลือกกินชีสให้ถูกชนิดจะช่วยเพิ่มรสชาติอาหารให้อร่อยยิ่งขึ้น เรามีตัวอย่างการแมชต์ชีสกับอาหารมาฝากกันค่ะ
  • ชีสที่เหมาะแก่การกินเล่นคู่กับผลไม้สด ถั่วต่างๆ แครกเกอร์ หรือขนมปัง ได้แก่ Brie, Camembert, Emmental, Edam, Gouda, Smoked Cheese และชีสปรุงรสต่างๆ
  • ส่วนชีสแข็งส่วนใหญ่ต้องนำไปทำอาหาร จึงจะอร่อย เช่น พาร์มีซาน นิยมใส่ในพาสต้า ริซอตโต้ พิซซ่า เป็นต้น หรือ Feta Cheese ชีสที่ทำจากนมแพะมักใส่ในสลัดกรีก ส่วนชีสที่นิยมใช้ทำขนมก็คือ Cream Cheese และ Mascarpone ที่ใช้เป็นส่วนผสมหลักในชีสเค้กและทีรามิสุ
นอกจากนี้ยังมีอาหารขึ้นชื่อที่มีชีสเป็นพระเอก คือ ฟองดูชีส เมนูที่สารพัดจะนำของโปรดมาจุ่มชีสเพื่อเพิ่มความอร่อย วิธีทำก็ง่ายๆ นำชีสมาต้มจนละลายแล้วนำอะไรก็ได้ที่ชอบมาลงจุ่ม เป็นอาหารยอดนิยมของชาวสวิสซึ่งนิยมกินกันในฤดูหนาว ปัจจุบันฟองดูชีสมีขายสำเร็จรูปเพิ่มความสะดวกในการกิน ส่วนแซนด์วิชอีกเมนูที่โปรดปรานในบ้านเราสามารถเลือกใช้ชีสชนิดใดก็ได้ตามใจ แต่ที่นิยมคือ Cheddar, Gouda, Emmental, Edam เป็นต้น